Top Ad unit 728 × 90

Latest Posts

recent

EP.1 การ config dynamic route ด้วย RIP v1 (Classful Networks)


RIP ย่อมาจาก Routing Information Protocol ทำหน้าที่สำหรับค้นหาเส้นทางบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Dynamic routing หมายถึงจะมีการปรับปรุงเส้นทางอัตโนมัติด้วยตัวเอง กรณีอุปกรณ์ ชำรุด หรือ มีการเพิ่ม ลด network id ในตาราง routing table ของอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง ในบทความนี้จะไม่ขอกล่าวทฤษีการทำงานของ RIP ซึ่งสามารถตามอ่านได้ทั่วไปใน Internet แต่จะกล่าวถึงใช้งาน RIP ในลักษณะต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน โดยบทความนี้เป็นตอนแรก คือ คอนฟิก RIP แบบ Classful Networks

Network Diagram


จากภาพ network diagram ข้างต้นเราจะเห็นว่าเครือข่ายภายในมี router ทั้งหมด 3 ตัวคือ R1, R2, และ R3 โดยที่ router R2 ได้ทำการเชื่อมต่อกับ Internet ภายนอกคือ ISP ซึ่ง ISP มีการเชื่อมต่อ Server ไว้ 1 เครื่องตามภาพ โดยเราจะทำการคอนฟิก RIP ระหว่าง R1, R2, และ R3 และคอนฟิก default route ระหว่าง R2 กับ ISP 

Basic Config
ให้ทำการคอนฟิกค่าเบสิกต่างๆตามภาพ หากไม่ทราบให้ดูที่หัวข้อ Basic Config ที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดย Basic config ครอบคลุมการคอนฟิกค่าต่างๆดังนี้

  • hostname
  • no ip domain-lookup
  • enable secret
  • config console password ทั้ง console และ vty
  • config ip address ให้กับ interface ทั้ง fastEthernet และ Serial
  • config ip address ให้กับ VPCs
Config RIP ให้กับ Router R1
1. เริ่มต้นโดยการตรวจสอบ IP address ที่ router R1 ว่ามีการคอนฟิกถูกต้องหรือไม่โดยใช้คำสั่ง
R1#show ip interface brief
จากนั้นจะได้ผลลัพธ์ด้งภาพ


2. ทำการตรวจสอบค่าตาราง routing table ว่ามีค่าอะไรบ้างโดยใช้คำสั่ง
R1#show ip route


จากภาพข้างบนเราจะเห็นว่าที่ตาราง routing table นั้นมี network id อยู่ 2 บรรทัดซึ่งก็คือค่า default ที่เราทำการคอนฟิกให้กับ interface ต่างๆ ในขั้นตอนของ basic config นั่นเอง โดยค่า default นั้นจะมีอักษรตัว C อยู่ด้านหน้าย่อมาจาก connected ซึ่งก็คือ network id ของ interface ที่ทำการคอนฟิก และ active port ไว้นั่นเอง (ปล. หาก port ไม่ได้ทำการ active จะไม่แสดงค่าในตาราง routing table ให้ทำการตรวจสอบว่าคอนฟิกถูกต้องหรือไม่)


3. เริ่มทำการคอนฟิก RIP ให้กับ R1 โดยใช้คำสั่ง
R1(config)#router rip
R1(config-router)#network 192.168.1.0
R1(config-router)#network 192.168.2.0
R1(config-router)#






โดย RIP จะส่ง advertise ไป update ค่า routing จาก router ข้างเคียงทุกๆ 30 วินาที ในที่นี้เราจะเห็นว่าได้ทำการระบุ network เข้าไปในตาราง routing table จำนวน 2 networks นั่นก็คือ ค่าของ network id ของตัว router R1 นั่นเอง ดังนั้นหากเราต้องการ คอนฟิกที่ R2 กับ R3 เราก็เพียงแค่เพิ่มจำนวน network id ของตัวมันเองเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเพิ่ม network id ของ router ตัวอื่นๆ

4. คอนฟิก RIP ให้กับ R2 และ R3

R2(config)#router rip
R2(config-router)#network 10.1.1.0
R2(config-router)#network 192.168.2.0
R2(config-router)#network 192.168.3.0
R2(config-router)#






R3(config)#router rip
R3(config-router)#network 192.168.3.0
R3(config-router)#network 192.168.4.0
R3(config-router)#






4. ตรวจสอบค่าตาราง routing table




จากภาพข้างบนเราจะพบว่ามีค่าตารางแถว R เพิ่มขึ้นมาโดย R ย่อมาจาก RIP โดยที่ R1 ได้รับ routing table มาจาก R2 และ R3 จำนวน 3 networks และ R2 ได้รับมาจาก R1 และ R3 จำนวน 2 networks สุดท้าย R3 ได้รับมาจาก R1 และ R2 จำนวน 3 networks สรุปแล้วตอนนี้ R1 R2 และ R3 จะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งหมด 5 networks ที่เราจำลองว่าเป็นเครือข่ายภายใน

สังเกตุว่าที่ R2 มีการเชื่อมต่อกับ ISP โดยใช้ network 10.x.x.x ซึ่งตอนนี้เราคอนฟิกให้ R1 กับ R3 รู้จักเพียงแค่ network 10.1.1.0 ของ router R2 แต่โดยทั้งหมดนี้ยังไม่สามารถติดต่อไปยัง Server ได้เนื่องจากไม่มี routing table ที่จะชี้ไปยัง network ดังกล่าว ในที่นี้เราจะทำการเพิ่ม default route เข้าไปให้กับ R2 และทำการสั่งให้ R2 แจก default route ไปให้กับ R1 และ R3 ผ่านทาง RIP โดยวิธีการนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการคอนฟิก default route ให้กับ router ทุกตัว (ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ default route ที่นี่)

คอนฟิก default route ให้กับ R2 เพื่อแจกไปให้ R1 กับ R3 ผ่านทาง RIP protocol

ที่ R2 ใช้คำสั่ง

R2(config)#ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 fa 0/0

R2(config-router)#default-information originate


ทำการตรวจสอบ R1 R2 และ R3




จากภาพด้านบนจะเห็นว่ามีบรรทัด R* เพิ่มขึ้นมาที่ R1 กับ R3 นั่นคือ default route ที่ได้มาจาก R2 ด้วย RIP ส่วนที่ R2 จะมี S* นั่นก็คือ default route ที่เราได้ทำการคอนฟิกไปนั่นเอง เพียงเท่านี้ก็จะสามารถติดต่อไปยัง Server ได้แล้วโดยที่เราไม่ต้องทำการ คอนฟิก default route ให้กับ router ทุกตัว เพียงแค่เลือกตัวที่ติดต่ออยู่กับ network ภายนอกจากนั้นแจก default route ไปให้กับเครือข่ายภายใน เป็นอันจบกระบวนการ

ผมขอจบตอนแรกไว้แต่เพียงเท่านี้ยังมีกรณีศึกษาเกี่ยวกับการ config RIP ในตอนอื่นๆอีก และ จะอธิบายในตอนต่อๆไป

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจที่จะใช้งาน Router ในโปรแกรม GNS3 ได้ โดยผู้เขียนจะนำพื้นฐานนี้ไปใช้ในบทความอื่นๆ อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นใช้งานโปรแกรม third party อื่นๆ ที่จำเป็นในการทำ Lab อีกต่อๆไป
EP.1 การ config dynamic route ด้วย RIP v1 (Classful Networks) Reviewed by กรรมกร ไอที on 9:46 AM Rating: 5
All Rights Reserved by กรรมกร ไอที © 2014 - 2017
Powered By Blogger

Contact Form

Name

Email *

Message *

Powered by Blogger.