Top Ad unit 728 × 90

Latest Posts

recent

การคอนฟิก static และ default route ด้วย router cisco ใน gns3


เนื่องจากตัวอุปกรณ์ Router ทำงานอยู่ที่ OSI Layer 3 หรือ Network Layer นั่นเอง หน้าที่หลักของ Router คือการค้นหาเส้นทางบนเครือข่ายเน็ตเวิร์ค ดังนั้นการค้นหาเส้นทางมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ static route กับ dynamic route

โดยที่ static route นั้นเป็นการคอนฟิกด้วย admin เองเพื่อทำการระบุเส้นทาง forward port หรือแม้แต่การเพิ่ม network id เข้าไปในตาราง routing table ด้วยตัวเอง นอกจากการเพิ่มจำนวน network id แล้ว เรายังสามารถกำหนดเส้นทางสำหรับ network ที่อยู่นอกเหนือจากเครือข่ายภายในของเราได้ ด้วยวิธีการทำ default route ซึ่งคำสั่งต่างๆเหมือนกันทุกประการ เพียงแค่ค่าของ network id เท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป ในบทความนี้จะนำเสนอวิธีการคอนฟิก static และ default route เพื่อใช้งานในระบบเครือข่าย

Network Diagram


จากภาพ network diagram ข้างต้นเราจะเห็นว่าเครือข่ายภายในมี router ทั้งหมด 3 ตัวคือ R1, R2, และ R3 โดยที่ router R2 ได้ทำการเชื่อมต่อกับ Internet ภายนอกคือ ISP ซึ่ง ISP มีการเชื่อมต่อ Server ไว้ 1 เครื่องตามภาพ โดยในบทความนี้จะทำการคอนฟิก static route ระหว่าง R1, R2, และ R3 และคอนฟิก default route ระหว่าง R2 กับ ISP เหตุที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะในความเป็นจริง เราไม่สามารถที่จะเพิ่ม network id ปลายทางที่อยู่ภายนอกเครือข่ายได้ จึงต้องทำการคอนฟิก default route นั่นเอง เพื่อบอกให้ router รู้ว่าถ้ามี network ที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดให้ router ทำการ forward ข้อมูลออกไปยัง interface ที่ต้องการได้

Basic Config

ให้ทำการคอนฟิกค่าเบสิกต่างๆตามภาพ หากไม่ทราบให้ดูที่หัวข้อ Basic Config ที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดย Basic config ครอบคลุมการคอนฟิกค่าต่างๆดังนี้
  • hostname
  • no ip domain-lookup
  • enable secret
  • config console password ทั้ง console และ vty
  • config ip address ให้กับ interface ทั้ง fastEthernet และ Serial
  • config ip address ให้กับ VPCs

Config Static router ให้กับ router R1

1. เริ่มต้นโดยการตรวจสอบ IP address ที่ router R1 ว่ามีการคอนฟิกถูกต้องหรือไม่โดยใช้คำสั่ง

R1#show ip interface brief

จากนั้นจะได้ผลลัพธ์ด้งภาพ



2. ทำการตรวจสอบค่าตาราง routing table ว่ามีค่าอะไรบ้างโดยใช้คำสั่ง

R1#show ip route


จากภาพข้างบนเราจะเห็นว่าที่ตาราง routing table นั้นมี network id อยู่ 2 บรรทัดซึ่งก็คือค่า default ที่เราทำการคอนฟิกให้กับ interface ต่างๆ ในขั้นตอนของ basic config นั่นเอง โดยค่า default นั้นจะมีอักษรตัว C อยู่ด้านหน้าย่อมาจาก connected ซึ่งก็คือ network id ของ interface ที่ทำการคอนฟิก และ active port ไว้นั่นเอง (ปล. หาก port ไม่ได้ทำการ active จะไม่แสดงค่าในตาราง routing table ให้ทำการตรวจสอบว่าคอนฟิกถูกต้องหรือไม่)

3. เริ่มทำการคอนฟิก static route ให้กับ R1 โดยใช้คำสั่ง

Router(config)# ip route network-address subnet-mask ip-address

โดยที่ 
network-address คือ network id ของ network ที่เราต้องการเพิ่ม
subnet-mask คือ subnet ของ network ปลายทาง
ip-address คือ next hop หรือ ip address ที่เราต้องการที่จะให้ router forward ข้อมูลไปถึง ซึ่งในที่นี้อาจจะใช้เป็น out going interface แทนก็ได้ จะแสดงตัวอย่างที่ router R2 ตอนคอนฟิก default route

R1(config)#ip route 192.168.1.0 255.255.255.0 172.16.2.2
R1(config)#ip route 192.168.2.0 255.255.255.0 172.16.2.2

ในที่นี้ทำการเพิ่ม static route 2 networks คือ 192.168.x.0 ซึ่งก็คือ network ของ router R2 และ R3 นั่งเองแต่เราไม่ได้เพิ่ม network หมายเลย 10.x.x.x เข้าไป เนื่องจากต้องการที่จะคอนฟิก default route ในภายหลัง โดยที่ next hop เป็นหมายเลข 172.16.2.2 เนื่องจากเป็น ip address ของ interface ของ router R2 ที่ทำการเชื่อมต่ออยู่กับ R1 นั่นเอง


4. คอนฟิก static route ให้กับ router R2


R2(config)#ip route 172.16.1.0 255.255.255.0 172.16.2.1
R2(config)#ip route 192.168.2.0 255.255.255.0 192.168.1.1

ในตัวอย่างคำสั่งเราจะเห็นว่า next hop ของ network 172.16.x.x กับ 192.168.x.x ไม่เหมือนกัน เนื่องมากจาก network flow ของข้อมูลที่วิ่งผ่านเข้า-ออก ที่ R2 มาจากคนละทาง ดังนั้นเราต้องสังเกตุ network flow ที่จะทำการ forward ข้อมูลให้ถูกต้อง


5. คอนฟิก static route ให้กับ router R3

R3(config)#ip route 172.16.2.0 255.255.255.0 192.168.1.2
R3(config)#ip route 172.16.1.0 255.255.255.0 192.168.1.2


ทำการเพิ่ม static route network 172.16.x.x ให้กับ R3 ซึ่งก็คือ network ของ R1 นั่นเอง โดย next hop นั้นเป็นหมายเลขเดียวกัน เนื่องจาก network flow นั้นมีการรับส่งข้อมูลผ่านทาง R2 เพียงตัวเดียวนั่นเอง

มาถึงขึ้นตอนนี้ ให้ลองทำการทดสอบการเชื่อมต่อภายในดูด้วยวิธีการ ping จากตัวอย่างเราจะทำการ ping จาก PC2 ไปยัง PC1 โดยเส้นทางข้อมูลจะวิ่งจาก PC2 - R3 - R2 - R1 - PC1 หากทำถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ดังภาพ


จะเห็นได้ว่าเราสามารถทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับ network ภายในได้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคอนฟิก default ให้กับ router R2 และ ISP ให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลกันได้

Config Default Route ให้กับ R1, R2, R3 และ ISP

การคอนฟิก default route นั้นคำสั่งจะเหมือน static route ทุกอย่าง เปลี่ยนแค่เพียง network id และ subnet mask ให้เป็น 0.0.0.0 0.0.0.0 เท่านั้นเอง หมายถึง network และ subnet mask ใดๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน list รายการของตาราง routing table จะทำการ forward ข้อมูลออกไปยังปลายทางที่กำหนด

ในตัวอย่างที่ผ่านมาเราได้กำหนด ip next hop กันไปแล้ว ในตัวอย่างนี้จะทำการกำหนด forward port อีกประเภทหนึ่งคือ exit interface นั่นเอง

Router(config)# ip route network-address subnet-mask exit-interface

โดยที่ 
network-address คือ network id ของ network ที่เราต้องการเพิ่ม
subnet-mask คือ subnet ของ network ปลายทาง
exit-interface คือ interface ของตัว routerที่เราต้องการที่จะให้ router forward ข้อมูลออกไปจากตัวมันเอง

R2(config)#ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 fastEthernet 0/0


จะเห็นว่ามีบรรทัด S* เพิ่มขึ้นมา ที่บรรทัดล่างสุด หมายความว่าได้ทำการคอนฟิก default route เรียบร้อยแล้ว โดยให้ forward ข้อมูลออกไปที่ interface FastEthernet0/0 นั่นเอง

R1(config)#ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 serial 0/0



R3(config)#ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 serial 0/1


ISP(config)#ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 fastEthernet 0/0


ทดสอบโดยการ ping จาก PC2 ไป SERVER


ทดสอบโดยการ ping จาก PC1 ไป SERVER


หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจที่จะใช้งาน Router ในโปรแกรม GNS3 ได้ โดยผู้เขียนจะนำพื้นฐานการติดตั้งนี้ไปใช้ในบทความอื่นๆ อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นใช้งานโปรแกรม third party อื่นๆ ที่จำเป็นในการทำ Lab อีกต่อๆไป

การคอนฟิก static และ default route ด้วย router cisco ใน gns3 Reviewed by กรรมกร ไอที on 11:28 AM Rating: 5
All Rights Reserved by กรรมกร ไอที © 2014 - 2017
Powered By Blogger

Contact Form

Name

Email *

Message *

Powered by Blogger.